Ferru’s The Private Me

Just another WordPress.com weblog

คนที่มีความบกพร่องทางปัญญา จากภาพยนตร์ I am Sam November 15, 2010

Filed under: i-Portfolio — Fangfriendship @ 8:23 pm

คำถาม_ตอบในวิชาการเรียนการสอนเด็กบกพร่อง

1. จงอธิบายความรู้สึกที่มีต่อคนที่มีความบกพร่องทางปัญญาจากการชมภาพยนตร์อย่างละเอียด

เราได้เรียนรู้หลายๆ อย่างจากเรื่องราวของI am sam ตั้งแต่พฤติกรรมของคนที่มีความบกพร่องทางปัญญา การคิด การตัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ รวมไปถึงความรู้สึกของตัวละครในเรื่อง นอกจากสิ่งเหล่านี้เรายังจะเห็นว่าบุคคลที่ปัญญาอ่อนไม่จำเป็นต้องส่งเข้าสถาบันเฉพาะ แต่สามารถใช้การดูแลจากครอบครัวและชุมชนได้ สังคมของ Sam ช่วยเหลือให้ชีวิตของเขาและเพื่อนมีสภาพเป็นปกติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

(more…)

 

เทคนิคการสอนแบบแสดงละคร (Dramatization)

Filed under: i-Portfolio — Fangfriendship @ 7:51 pm

การแสดง หมายถึงการแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ โดยที่ผู้แสดงพูดตามบทหรือร้องตามบทที่ผู้เขียนกำหนดไว้ให้ (more…)

 

ตัวอย่างการเขียนโครงการ

Filed under: i-Portfolio — Fangfriendship @ 7:21 pm

ชื่อโครงการ

โครงการ : ผลิตสีสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยธรรมชาติ สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องสี

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

(more…)

 

โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง…..เรื่องสรุป

Filed under: i-Portfolio — Fangfriendship @ 7:05 pm

เราเล่นกันเท่านั้น

เล่นหมาป่ากับร็อกกี้

พระจันทร์ปลายฤดูร้อน ซึ่งส่องแสงอยู่ในสวน ได้เห็นภาพเด็กหญิงที่มีแผลพันเต็มหน้า และหมาที่จะไม่เล่นหมาป่า อีกแล้ว และรับรู้ว่า ทั้งสองเป็นเพื่อนรักกันยิ่งกว่าเดิม

วันกีฬา

กีฬาปลาคาร์ป..แข่งกันหาแม่ทำให้แม่ที่เป็นกองเชียร์ได้เล่นด้วย ฝึกสมาธิ ไหวพริบชักเย่อ เด็กยาสึอากิเป็นกรรมการ…วิ่งผลัดขึ้นลงบันไดรูปพัดคลี่ 8 ขั้น หน้าหอประชุม/ขายาววิ่งลำบาก…..นักเรียนช่วยกันทำดาวทอง พับกระดาษ ทำโซ่ ประดับโรงเรียนอยากใส่กระเกรงจีบขาพอง……ไม่ว่าจะแข่งอะไร ทากาฮาชิ ขาสั้น ชนะทุกอย่าง….รางวัลเป็นผัก เด้กไม่อยากเอากลับจะทิ้ง /อาย/ครูใหญ่ คืนนี้ลอง ให้แม่เอาผักพวกนี้ไปทำกับข้าวสิ ผักที่พวกเธอหามาได้เชียวนะ ทำกับข้าวให้คนที่บ้านกินได้ ไม่ดีเหรอ อร่อยนะ/

ครูต้องการให้เด็กๆ และผู้ปกครองรับประทานผักเหล่านั้น และพูดคุยกันเรื่องงานกีฬาที่เพิ่งผ่านไปก็ได้ รวมทั้งอยากให้คงอยากให้เด้กตัวเตี้ยอยากทากาฮาชิ ได้ภาคภูมิใจกับรางวัลซึ่งกลายเป็นอาหารเต็มโต๊ะเพื่อจะได้ไม่นึกถึงปมด้อยเกี่ยวกับร่างกาย หรือว่า การแข่งขันกีฬาในวันนี้จะคิดขึ้นพิเศษ สำหรับให้เด็กชายทากาฮาชิได้ชนะเลิศทั้งหมดไม่รู้ได้

โคบายาชิ อิสสะ

ครูโคบายาชิ โซซาขุ ชอบเล่าโคลงไฮขุ ของโคบายาชิ อิสสะ (เรียบง่าย ตรงไปตรงมา เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน) —โคบายาชิ อิสสะ ลุงอิสสะหัวล้าน /ทุกคนคิดว่าครูใหญ่และอิสสะเป็นเพื่อนของเขา

สอนให้เขียนไฮขุ 5-7-5 หรือ5-8-7

บรรยายรร โทโมเอ

เมื่อหิมะละลาย

หมู่บ้านเต็มไปด้วยเด็กเด้ก

ในทันทีทันใด

เหตุการณ์ประหลาด

เก็บตังก์ได้ซ่อนหายไป

(more…)

 

ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่ November 14, 2010

Filed under: i-Portfolio — Fangfriendship @ 5:12 pm

ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่

บท “Les corps dociles” จาก Surveiller et punir

โดย มิแช็ล ฟูโกต์

แปลโดย ทองกร โภคธรรม

ร่างกายใต้บงการ เป็นการศึกษาเรื่องของ “อำนาจ” ที่ปัจจุบันนี้ได้กระจายแทรกซึมไปทั่ว

องค์กรและสังคม บางครั้งเราแทบจะไม่ทันสังเกตเห็นด้วยซ้ำ งานนิพนธ์เล่มนี้ได้วิเคราะห์ประเด็นนี้จากระดับมหภาค มาสู่ระดับจุลภาค ซึ่งได้แก่ อำนาจในโรงเรียน โรงงาน โรงพยาบาล และพื้นที่อื่นๆ ฟูโกต์ได้บอกเราถึงความเป็นปัจเจกชน ในสังคมสมัยใหม่ที่เราเข้าใจว่ามีสิทธิเสรีภาพ หรืออัตบุคคล นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาพมายาที่เกิดมาจากเครือข่ายของอำนาจทางสังคม และวาทกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมาจากบรรดาคำพูดและข้อเขียนของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ผลิตและเผยแพร่ออกมาในกรอบความรู้ ฟูโกต์สร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ มนุษย์ อย่างที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงสิ่งที่เพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นมาได้ไม่นาน และเป็นเพียงวัตถุแห่งการศึกษา ในฐานะเป็นตัวการที่บริโภคทรัพย์ สังคม และภาษา เขาได้เสนอมุมมองของอำนาจในรูปแบบใหม่ ไม่ใช่อำนาจแบบการกดขี่ หรือการมอมเมา อย่างที่ศึกษากันอยู่ทั่วไป แต่เป็นอำนาจแบบควบคุมที่ผ่านกระบวนการสร้างบรรทัดฐาน ระเบียบวินัยคืออุปกรณ์สำคัญของอำนาจที่จะทำให้คนอยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน เขาไม่ได้มองการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ว่าเป็นพัฒนาการที่มีการสั่งสมและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่เขามองว่ามันเพียงเพียงการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ว่าเป็นกรับวนการแปรรูปที่มีแนวคิดไม่ต่อเนื่อง เขามองเห็นปรากฏการณ์ของการแบ่งแยก และการกีดกัน เช่นการแยกอาชญากรออกจากพลเมืองดี ซึ่งได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าบรรทัดฐาน เพื่อแยกสิ่งที่ไม่ใช่บรรทัดฐานออก เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขให้ กลับคืนสู่ภาวะปกติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะของอำนาจ ที่แทรกซึมเข้าไปจัดการกับรายละเอียดของมนุษย์มากขึ้น และการเปลี่ยนยุคสมัยเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ได้อาศัยกระบวนการ ซึ่งทำให้มนุษย์กลายเป็นวัตถุแห่งการศึกษา

เนื้อหาสาระของร่างกายใต้บงการได้ครอบคลุมการเกิดของอำนาจรูปแบบใหม่ในหลากหลายสถาบันทางสังคมอย่างทั่วถึง ได้แก่ โรงเรียน กองทัพ โรงงาน โรงพยาบาล เขาได้นำเสนอตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจำนวนมาก ที่ล้วนบ่งบอกให้รู้อย่างแจ่มแจ้งว่า ในศตวรรษที่ 18 นั้น ระเบียบวินัย เป็นรูปแบบใหม่ของอำนาจ ที่ได้เข้าไปจัดการกับพื้นที่ เวลา และร่างกายมนุษย์เพื่อปลูกฝังประสิทธิภาพด้านการใช้งาน และสยบยอมทางการเมืองไปพร้อมๆกัน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการนำภาพรวมของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งเริ่มเปิดบทด้วยการเปรียบเทียบลักษณะของทหารฝรั่งเศสสองยุค โดยลักษณะแรงได้นำข้อมูลมาจากหนังสือตำราพิชัยสงครามในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 17 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทหารยุคนั้น ถูกคัดเลือกมาจากชายฉกรรจ์ที่ร่างกายมีลักษณะเหมาะสมอยู่แล้วตามธรรมชาติ คือ ศีรษะตั้งตรง มีกล้ามท้อง ไหล่กว้าง แขนยาว นิ้วแข็งแรง หน้าท้องแบน ต้นขาล่ำ น่องเพรียว เท้าแห้ง ส่วนลักษณะที่สองเป็นข้อมูลที่ปรากฏในพระราชโองการของกษัตริย์ฝรั่งเศสในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 และแสดงนัยที่ขัดแย้งกับลักษณะแรกอย่างพลิกผัน ซึ่งได้เชื่อกันว่าร่างกายของทหารนั้นกลายเป็นผลผลิตจากการฝึกหัดอย่างละเอียดเคร่งครัดตามหลักวิชา โดยฝึกให้ ตั้งศีรษะตรงและเชิดสูง ให้ยืดตัวตรงไม่ให้หลังค่อม แอ่นหน้าท้องมาเบื้องหน้า ให้ยืดอกและแอ่นหลัง และเพื่อให้คนเหล่านี้ติดท่วงท่าดังกล่าวเป็นนิสัย ก็ต้องมีการฝึกให้พวกเขายืนหันหลังชนกำแพงในลักษณะที่ส้นเท้า ปลีน่อง ไหล่ และลำตัวแนบติดกับผนัง

(more…)